วัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง

     “วัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” ที่ตั้งอยู่ที่ถนนอ่าวลึก-พระแสง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ซึ่งหากว่าใครเดินทางมาถึงที่นี่ก็จะได้ตื่นตากับ “อุโบสถช้าง” แห่งเดียวในไทย ที่ด้านหลังของวัด จะมีขุนเขาตั้งตะหง่านอยู่ โดยมี “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง” อยู่ด้านใน ซึ่งถูกค้นพบโดย “หลวงพ่อขจิต กมโล” เจ้าอาวาสวัดถ้ำปราสาทนาฬาคิริง หลวงพ่อขจิตท่านมีพื้นเพเป็นคนสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2529 มีโอกาสธุดงค์ขึ้นเหนือ และไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำวัว จ.แม่ฮ่องสอน แล้วได้นิมิตเห็นชายตัวดำรูปร่างสูงใหญ่ไม่ใส่เสื้อนุ่งโจงกระเบนสีขาว สะพายย่าม มือถือเทียนมาชวนหลวงพ่อไปดูถ้ำแห่งหนึ่ง ชายคนนั้นพูดอะไรมากมายหลายอย่าง พร้อมกับให้หลวงพ่อไปอยู่ในถ้ำนั้น ทีแรกหลวงพ่อขจิตปฏิเสธ แต่ชายร่างใหญ่ได้พยามอธิบาย ชักจูง จนหลวงพ่อยอม ชายคนนั้นจึงพาหลวงพ่อออกจากถ้ำ
     หลังนิมิตผ่านพ้น หลวงพ่อขจิตได้พยายามสืบเสาะหาถ้ำในนิมิตตามที่ต่างๆ อยู่หลายแห่ง จนในปี 2533 ท่านได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งใน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ มีชาวบ้านมานิมนต์ไปงานบุญเดือนสิบ หลวงพ่อจึงถามชาวบ้านว่าในละแวกนี้มีวัดหรือถ้ำบ้างหรือไม่ ชาวบ้านก็ตอบว่ามี แต่อยู่ในป่ารกทึบไม่มีใครกล้าเข้าไป หลวงพ่อจึงเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นถ้ำคล้ายในนิมิต นั่นจึงเป็นการเปิดโลกถ้ำแห่งนี้สู่ภายนอก โดยครั้งแรกที่หลวงพ่อพบเจอถ้ำคือวันที่ 9 ก.ค. 2533            เหตุที่หลวงพ่อขจิตตั้งชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำปราสาทนาฬาคิริง”นั้น เพราะถ้ำนี้มีก้อนหิน หินงอกหินย้อย ที่ชวนให้จินตนาการเกี่ยวกับช้างมากมาย โดยชื่อ “นาฬาคิริง” มาจากชื่อ “นาฬาคิรี” ที่เป็นช้างสำคัญเชือกหนึ่งในสมัยพุทธกาลสำหรับช้างนาฬาคิริง เป็นช้างที่พระเทวทัตสั่งให้มาทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 พระเทวทัตจึงติดสินบนควาญช้างให้มอมเหล้าช้างนาฬาคิรีจนเกิดความคลุ้มคลั่ง วิ่งมาจะทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์บันดาลให้พญาช้างวิ่งเฉไปทางอื่น แล้วทรงแผ่เมตตาจนสร้างสงบสติอารมณ์ ทรุดกายถวายกราบบังคมทูล พร้อมน้ำตาไหลอาบแก้ม สำนึกตน แล้วเดินกลับเข้าสู่โรงช้างดังเดิม ซึ่งในคัมภีร์อนาคตวงศ์ระว่า หลังสิ้นยุคพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าแล้ว จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกหลายพระองค์ โดยช้างนาฬาคิรี จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีพระนามว่า “พระติสสพุทธเจ้า”

     ส่วนที่ด้านหน้าถ้ำ ซึ่งเป็นบริเวณของวัดนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ “อุโบสถช้างนาฬาคิริง” ที่สร้างเป็นรูปช้างหมอบ ชูงวง ชูงา ดูแปลกตา แต่ว่าสมส่วนสวยงาม โดยรอบอุโบสถมีใบเสมาที่ตั้งอยู่บนตัวช้าง แล้วก็ยังมีไม้ตะเคียนที่วางไว้รอบๆ อุโบสถ เปรียบเสมือนกำแพงแก้ว เมื่อเดินเข้ามาด้านในอุโบสถช้างก็จะเห็นตั้งแต่ประตูที่ทำเป็นรูปช้าง ด้านในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน ส่วนฝาผนังและเพดานโดยรอบก็มีภาพเขียนสีเป็นรูปช้างในความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทย เดินชมความสวยงามของภาพต่างๆ ได้อย่างเพลิดเพลินใจ

     สำหรับถ้ำปราสาทนาฬาคิริงนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้โดยต้องติดต่อผ่านทางวัด เนื่องจากจะได้จัดผู้นำชมแนะนำจุดต่างๆ และดูแลนักท่องเที่ยวให้เดินไปตามเส้นทางที่กำหนด โดยภายในถ้ำนั้นมีหินงอกหินย้อยรูปร่างแปลกตาน่าชมมากมาย และหากไปถูกช่วง ก็จะเป็นฤดู “หนอนถ้ำ” ซึ่งพวกมันจะชักใยเป็นเส้นสายสวยงามเพื่อดักแมลงเป็นอาหาร หากเราสังเกตตามเส้นใยอาจจะเห็นหนอนถ้ำบางตัวค่อยๆ คืบคลานไต่ไปบนใย ดูเพลินตาดี โดยเฉพาะยามสาดแสงไปโดน เส้นใยไหมของมันจะสะท้อนแสงเป็นริ้วสายสวยงาม ถือเป็นอีกหนึ่งของดีคู่ถ้ำปราสาทนาฬาคิริงที่มีให้เห็นเฉพาะบางช่วงเท่านั้น


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 408,849